25.3.55

ผักสมุนไพร : ตำลึง

ตำลึง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่อท้องถิ่น : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตำลึงสี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะ : ตำลึงมีลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 ซม. โคนใบ มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมีอเกาะยื่นออกมาจากที,ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอก ออกตรงที่ชอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาว สีเขียวอ่อน เมื่อยาม แก่จัดจะเป็นสีแดง

สรรพคุณ : ใบ ใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ

เถา นำนํ้าต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง

ดอก ช่วยทำให้หายจากอาการคันได้

ราก ใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝืา

นํ้ายาง จากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร : ยอดและใบอ่อน ผลอ่อน ยอดและ ใบอ่อนลวกจิ้มนํ้าพริก หรือนำไปทำอาหารได้ทั้งต้ม ผัด แกง ผลอ่อนนำไปทำอาหารได้

คุณค่าทางอาหาร : ใบตำลึง 100 กรัม มีพลังงาน 35 แคลอรี่ ความชื้น 90.7 กรัม โปรตีน 3.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.5 กรัม เส้นใยอาหาร 1.0 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.2 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.17 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.13 มิลลิกรัม วิตามินเอ 18,608 IU. วิตามินซี 34 มิลลิกรั

อ้างอิงที่มา : http://xn--q3ckhk5a4fzd.thaidrawing.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น