26.3.55

ผักสมุนไพร : มะขามป้อม

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.

ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่ออื่น : กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

ส่วนที่ใช้ : น้ำจากผล ผลโตเต็มที่

สรรพคุณ :

น้ำจากผล - แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้

อ้างอิงที่มา : 1.http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_8.htm

2.http://www.orderlamp.com/articles/485159/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html

25.3.55

แหล่งท่องเที่ยวในอุดร : น้ำตกยุงทอง



น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บ้านสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนายูงอำเภอน้ำโสม เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอู มีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อน สวยงาม มาก ท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพันธุ์น้ำ ตกยูงทองเป็นน้ำตก-ขนาดเล็กมี 3 ชั้นอยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ103กิโลเมตรการเดินทาง จากตัวจังหวัดอุดรธานีผ่านเข้าอำเภอบ้าน ผือและอำเภอน้ำโสม เมื่อถึงอำเภอน้ำโสม จะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไป อีกประมาณ17กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกวนอุทยาน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช .ตลอดสายและมีสภาพดี

อ้างอิงที่มา : http://www.udonthani.com/yungthong.htm



ผักสมุนไพร : ข่า

ข่า


ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Galanga

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga SW.

วงศ์ Zingiberraceae

ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง / ข่าหยวก (เหนือ) / ข่าหลวง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ข่าเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นกอ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีน้ำตาลอมแสด มีเส้นแบ่งข้อเป็นช่วงสั้นๆ เนื้อในเหง้ามีสีขาวรสขมเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนกับขิง มีกลิ่นหอมฉุน ข่าเป็นพืชใบเดี่ยว ใบยาวปลายใบมนขอบใบเรียบ ก้านใบยาวเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ดอกเป็นช่อสีขาวนวล ผลกลมสีแดงส้ม มีรสเผ็ดร้อน
ข่าเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน มีถิ่นกำเนินอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียเขตร้อน ปัจจุบันข่าใช้เป็นเครื่องเทศในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียมากกว่าที่อื่น ประเทสไทยมีการปลูกข่าทั่วไป เพราะข่าถือเป็นผักสวนครัวอย่างหนึ่ง

สารสำคัญที่พบ
เหง้าสดมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ซินนาเมต (Methyl-cinnamate) ซีนิออล (Cineol) การบูร (Camphor) และยูจีนอล (Eugenol)

สรรพคุณ
1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม
4. ใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง
5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ข่าเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด

อ้างอิงที่มา : 1. http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable23

ผักสมุนไพร : ตำลึง

ตำลึง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่อท้องถิ่น : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตำลึงสี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะ : ตำลึงมีลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 ซม. โคนใบ มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมีอเกาะยื่นออกมาจากที,ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอก ออกตรงที่ชอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาว สีเขียวอ่อน เมื่อยาม แก่จัดจะเป็นสีแดง

สรรพคุณ : ใบ ใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ

เถา นำนํ้าต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง

ดอก ช่วยทำให้หายจากอาการคันได้

ราก ใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝืา

นํ้ายาง จากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร : ยอดและใบอ่อน ผลอ่อน ยอดและ ใบอ่อนลวกจิ้มนํ้าพริก หรือนำไปทำอาหารได้ทั้งต้ม ผัด แกง ผลอ่อนนำไปทำอาหารได้

คุณค่าทางอาหาร : ใบตำลึง 100 กรัม มีพลังงาน 35 แคลอรี่ ความชื้น 90.7 กรัม โปรตีน 3.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.5 กรัม เส้นใยอาหาร 1.0 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.2 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.17 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.13 มิลลิกรัม วิตามินเอ 18,608 IU. วิตามินซี 34 มิลลิกรั

อ้างอิงที่มา : http://xn--q3ckhk5a4fzd.thaidrawing.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

ผักสมุนไพร : ถั่วพู

ถั่วพู

ชื่อวิทยาศาสตร์:Psophocarpus tetragonolobus

เป็นพืชจำพวกถั่ว ผลเป็นฝัก ยาว มี 4 ครีบ นิยมรับประทานสด หรือปรุงสุกก็ได้

ส่วนที่ใช้ หัวถั่วพู

สรรพคุณ
ถั่วพูมีวิตามินเอ ซี อี แคลเซียม ฟอสฟอรัส มีสารข่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัวทางไทยใช้เป็นยาชูกำลังบรรเทาอาการปวดตามข้อ เมล็ดถั่วพูมีโปรตืนสูงมากฝักรับประทานได้ทั้งฝักสดและนำไปประกอบ อาหารเป็นผักที่ให้พลังงาน

มีวิตามิน เอ , ซี, อี , คาร์โบไฮเดรท , โปรตีน, ไขมัน และฟอสฟอรัส แก้อ่อนเพลีย เป็นยาบำรุงกำลังของคนป่วยหนักโดย นำหัวถั่วพูตากแห้ง หั่นคั่วไฟให้เหลืองหอม ชงน้ำดื่ม เป็นยาระบายโดย คั้นน้ำจากหัวถั่วพูใช้ดื่ม

Tips
1. นำหัวถั่วพูตากแห้ง หั่นคั่วไฟให้เหลืองหอม ชงน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลังของคนป่วยหนัก
2. คั้นน้ำจากหัวถั่วพูใช้ดื่ม เป็นยาระบาย

อ้างอิงที่มา : 1.http://www.samunpri.com/kitchendrugs/?p=54

2.http://www.portamoda.com/tag/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B9/

14.3.55

ต้นโป๊ยเซียน

ต้นโป๊ยเซียน


ลักษณะโดยทั่วไป

โป๊ยเซียนเป็นไม้อวบน้ำที่มียางและหนามบริเวณลำต้น ทรงต้นเป็นทรงพุ่ม มีอายุยืนนับสิบปี เป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเนื่องจากสามารถสะสมน้ำไว้ตามลำต้นและใบ จึงทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

การขยายพันธุ์

การปักชำ การเสียบยอด การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำและการเสียบยอด

การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน เหมาะสำหรับใช้เป็นไม้ดอกประดับภายนอก ขนาดกระถางปลูก 8-12 นิ้ว ควรเป็นกระถางทรงสูง ใช้ดินร่วน : แกลบผุ : เปลือกถั่ว หรือไบไม้ผุ อัตรา 1 : 1 : 2 ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง เพื่อการเปลี่ยนดินปลูกใหม่แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกไว้ใกล้ๆกับบ้านเพราะมีเวลาดูแลรักษาที่ใกล้ชิดจะทำให้เกิดดอกที่สวยงาม ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 2: 1 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา

แสง ต้องการแสงแดดรำไร จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้ง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินผสมพิเศษ
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ผสมพิเศษ อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 1-2 ครั้ง/เดือน
โรค โรครากเน่า
อาการ โคนต้นมีเส้นใยสีขาวและเหลือง หลังจากนั้นใบและลำต้นเหี่ยวแห้ง
การป้องกัน อย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป และกำจัดเชื้อราในดินปลูกโดยการตากดินให้แห้ง
การรักษา ใช้ยาเนทริฟิน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
ศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูรบกวน เพราะเป็นไม้ที่ทนต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโป๊ยเซียนไว้ประจำบ้านจะนำโชคลาภมาให้คนในบ้านเพราะต้นโป๊ยเซียนเป็นไม้เสี่ยงทายคือ ถ้าผู้ใดปลูกต้นโป๊ยเซียนออกดอกได้8 ดอกขึ้นไปผู้นั้นก็จะมีโชคลาภตามไปด้วย นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าต้นโป๊ยเซียนยังช่วยคุ้มครองให้มมีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะต้นโป๊ยเซียนเป็นต้นไม้แห่งเทพเจ้า8องค์ที่คอยคุ้มครองโลกมนุษย์

เทพเจ้า 8 องค์ ได้แก่

1. เซียนพิการ 2. เซียนหอสมุด

3. เซียนอาจารย์ 4. เซียนค้างคาวเผือก

5. เซียนวนิพก 6. เซียนสาวสวย

7. เซียนกวี 8. เซียนถ้ำ

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นโป๊ยเซียนไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ควรเคารพนับถือและประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น

อ้างอิงที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/BotanicalGarden/poaysian.htm

ผักสมุนไพร : มะระขี้นก

มะระขี้นก


มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก
มะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก
ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับน้ำพริกก็ได้ บางครั้งราดด้วยกะทิสดเพื่อเพิ่มรสชาติ

การปรุงแกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ ต้องต้มนานหน่อยให้ความขมจางลง หรือปรุงอาหารเผ็ด เช่น พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือเป็นแกงเผ็ดก็ได้ ถ้าจะนำไปปรุงอาหารผัด เช่น ผัดกับไข่ ให้ต้มน้ำแล้วเททิ้งหนึ่งครั้ง

นอกจากใช้ผลเป็นอาหารแล้ว ใบของมะระขี้นกก็นำมาทำอาหารได้ แต่ไม่นิยมกินสดเพราะมีรสขม ยอดมะระลวกเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก หรือกับปลาป่นของชาวอีสาน ยิ่งเด็ดยิ่งแตกยอดเพิ่มอีก ทางภาคเหนือนิยมนำยอดมะระสดมากินกับลาบ หรือนำไปทำแกงคั่ว แกงเลียง และแกงป่า ได้รสน้ำแกงที่ขมเฉพาะตัว

ทางอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดแบบพื้นบ้านจะทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ กลมกล่อมมาก บ้างนิยมนำใบมะระมาต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก

ส่วนที่ใช้ ใบ ใบและผล ผล ราก

ประโยชน์ทางยา
สรรพคุณของมะระขี้นก

1. จะช่วยเจริญอาหาร การที่ผลมะระขี้นกช่วยเจริญอาหารได้ เพราะในเนื้อผลมีสารที่มีรสขมกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมา มากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้นใช้ผลมะระปิ้งไฟ หรือลวกจิ้มน้ำพริก

2. ยับยั้งเชื้อ HIV หรือเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ใช้เมล็ดจากผลสุก 30 กรัม แกะเมล็ด ล้างเนื้อเยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดออก ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ กะเทาะเมล็ดเปลือกมะระ ควรกะเทาะในภาชนะที่เย็น เช่น ในที่มีอุณหภูมิต่ำ จะได้เนื้อในสีขาว ควรสวมถุงมือยางขณะทำ

นำเนื้อใน มาล้างน้ำให้สะอาด เติมน้ำหรือน้ำเกลือที่แช่เย็นลงไป 90-100 มิลลิลิตร ปั่นในเครื่องปั้นที่แช่เย็น แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น จะได้น้ำยาสีขาวขุ่น

น้ำยาสีขาวขุ่น ใช้สวนทวารหนัก ครั้งละ 10 มิลลิลิตร วันละครั้ง

ถ้านำน้ำ ที่ปั่นไปแช่ตู้เย็น จะแยกเป็น ๒ ชั้น ให้ใช้ชนบนที่มีลักษณะใส

ข้อควรระวัง

การสวนทวาร ควรใช้วาสลินช่วยหล่อลื่นก่อนการสวน

ทุกขั้นตอนให้ระวังเรื่องความสะอาด

ต้องรักษาความเย็นตลอดเวลา

อ้างอิงที่มา : http://www.samunpri.com/kitchendrugs/?p=89

แหล่งท่องเที่ยวในอุดร : ภูฝอยลม


ภูฝอยลม ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี ชื่อของภูฝอยลมมาจากไลเคนชนิดหนึ่ง คือ "ฝอยลม" ซึ่งเคยพบเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ในบริเวณนี้ แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากป่าถูกบุกรุกจนมีสภาพเสื่อมโทรม ปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและให้เป็นที่ทัศนศึกษาของประชาชน ประกอบด้วยสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี อ ุทยานโลกล้านปี มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์แสดงซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติซึ่งจะได้พบป่าเบญจพรรณ ป่า ดิบแล้ง ป่าเต็งรัง สลับป่าทุ่งหญ้า น้ำตกเล็ก ๆ และถ้ำ

ก่อนกลับแวะมาเล่นน้ำตกให้เย็นชื่นใจที่น้ำตกธารงาม ที่อยู่ด้านล่างของภูฝอยลมที่กำลังท่านเข้าไปสัมผัสเยี่ยมชมกับ "น้ำตกธารงาม"



น้ำตกธานงามตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือตอนขาขึ้นก่อนจะถึงภูฝอยลม
ทางขึ้นที่ บ้านทับกุง ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี


อ้างอิงที่มา : http://nongsangplace.blogspot.com/

13.3.55

แหล่งท่องเที่ยวในอุดร : ชมหลักกิโลเมตรใหญ่

ชมหลักกิโลเมตรใหญ่




สำหรับท่านใดเดินทางไปทางภาคเหนือ ก็จะได้พบเจอกับหลักกิโลที่มีขนาดใหญ่เท่าตึก 3 ชั้น ส่วนในจังหวัดอุดรธานี
ก็จะมีอีกหนึ่งหลักกิโลที่ใหญ่ไม่แพ้ทางภาคเหนือเหมือนกัน ซึ้งหลักกิโลนี้ตั้งอยู่ กิโลเมตรที่ 19 ถนนอุดร-หนองคาย
ต.บ้านข้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี ริมถนนฝั่งขาเข้าเมืองอุดรธานี เจ้าของโครงการคือนางสมพร อิงคณะองอาจ เจ้าของ
ร้านรับซื้อของเก่า

หลักกิโลนี้เป็นอาคารคอนกรีต 4 ชั้น สูง 15 เมตร กว้าง 8 เมตร และยาว 9 เมตร ค่าก่อสร้างเฉพาะโครงสร้าง 1
ล้านบาท " การสร้างตึกหลังนี้ไม่ได้หวังผลประโยชน์ด้านธุรกิจ แต่ทำขึ้นมาเพื่อตอบแทนสังคมอีกทั้งในอดีตถนนมิตร
ภาพมีประวัติศาสตร์อันยาวนานเนื่องจากกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมนำไพร่พลถอยมาตั้งทัพที่บ้านเดื่อ-หมากแข้ง
เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2436 และสร้างเมืองอุดรธานีขึ้น จากวันนั้นจนถึง 19 ม.ค. 47 จะครบรอบ 111 ปี

สำหรับท่านใดต้องการถ่ายรูปร่วมกับหลักกิโลขนาดใหญ่นี้ สามารถเดินทางมาได้ อีกทั่งยังสามารถมาชมแหล่ง
หัตถกรรมพื้นบ้านผ้าหมี่ขิดที่มีชื่อเสียงระดับประเทศได้ ที่บ้านนาข่า อำเภอเมือง อุดรธานี อีกด้วยครับ


แหล่งท่องเที่ยวในอุดร : หนองหาน ทะเลบัวแดง

หนองหาน ทะเลบัวแดง

จังหวัดอุดรธานีมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด คือ หนองหาน มีพื้นที่ประมาณ ๒๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๓๖ ตารางกิโลเมตร มีความยาวของคันดินรอบหนองหาน
ยาวถึง ๘๐ กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปีเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนอยู่ในเขตอำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอกู่แก้ว เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภค
บริโภคของชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหาน จนได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ ชุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

หนองหาน นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำ จำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหานได้พึ่งพาเป็นแหล่งอาหารแล้วนั้น ยังมีระบบนิเวศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นที่สนใจของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้ว ธรรมชาติของหนองหาน ยังได้บรรจงสร้างทะเลบัวแดงเพิ่มความงดงามให้แก่หนองหานมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ดอกบัวแดงในหนองหานซึ่งมีจำนวนมากจะงอกงามโผล่จากน้ำขึ้นมา โดยเริ่มจากเดือนตุลาคมบัวเริ่มแตกใบและเริ่มออกดอกตูมและบานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และค่อย ๆ ลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม ดอกบัวจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะมองเห็นดอกบัวแดงบานเต็มท้องน้ำหนองหานสุดลูกหูลูกตางดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่าทะเลบัวแดง



อ้างอิงที่มา :http://www.kumpawahealth.com/work3.htm

3.3.55

แหล่งท่องเที่ยวในอุดร : คำชะโนด

คำชะโนด


ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทย
ประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวม กันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยัง มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียก ว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่
พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำ จากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอก จากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุท โธที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ใน ความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่งตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ใน เมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่า ขานแก่ชาวเมืองคำชะโนดได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ.บ้านดุงต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ12 กม.

อ้างอิงที่มา : http://www.udonthani.com/chanode.htm


แหล่งท่องเที่ยวในอุดร : ศาลหลักเมืองอุดรธานี

ศาลพระหลักเมืองอุดรธานี

ศาลหลักเมืองอุดรธานี ตั้งอยู่บริเวณทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นสถานที่สำคัญในการดำรงและสืบสันติสุขของประชาราษฎร์จังหวัดอุดรธานี ศาลหลักเมืองเดิมได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในสมัย นายจินต์ รักการดี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2502 ในช่วง 39ปี ที่ผ่านมาศาลหลักเมืองเดิมได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีการปรับปรุงสร้างศาลาหลังใหม่ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2539 โดยในขณะนั้น นายวิชัย ทัศนเศรษฐ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้อัญเชิญท้าวเวสสุวรรณ อันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอุดรธานีมาประดิษฐานเคียงคู่กับอาสน์ศาลหลักเมืองใหม่พร้อมกันอีกโสตหนึ่งด้วย
นอกจากนี้โครงการสร้างศาลหลักเมือประจำจังหวัดอุดรธานียังเป็นโครงการที่รัฐบาลให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติโครงการหนึ่ง ในวาระสมัยอันเป็นมงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2552 และนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอราสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงเปิดศาลหลักเมืองประจำจังหวัดอุดรธานีในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2552


ชวนชม

ชวนชม

ลักษณะทั่วไป

ชวนชมเป็นพรรณไม้ยืนต้นอวบน้ำขนาดเล็กลำต้นมีความสูงประมาณ1-3เมตรลำต้นอวบน้ำผิวเปลือกสีเขียวปนขาวผิวเรียบเป็นมัน ลำต้นมียางลำต้นบิดงอไปตามจังหวะแตกกิ่งก้านสาขาน้อยรูปทรงโปร่งใบแตกออกตามปลายของกิ่งก้านใบมนรีปลายใบมนโคนใบ กลางใบมีเส้นสีขาวมองได้ชัด ตัวใบแข็ง ผิวเป็นมันเรียบมีสีเขียวดอกออกตรงปลายยอดของก้านดอกเป็นรูปแตรมีกลีบ ดอก 5 กลีบ มีสีชมพูโคนกลีบดอกมีฐานรองดอกเป็นแฉกเล็ก ๆ สีเขียว ดอกบานมีความกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ5 เซนติเมตร

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นชวนชมไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ

การปลูก

การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงและขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ; ขุยมะพร้าว :
ดินร่วน อัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูก เพื่อความสวยงามของทรงพุ่มควรดูแลตัดกิ่งให้เหมาะสม และควรเปลี่ยนกระถาง 1-2 ปี/ครั้ง เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไป
2. การปลูกในแปลงปลูกประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋คอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก แต่ที่เหมาะสมควรปลูกประดับบริเวณสวนนิยมปลูกเป็นกลุ่มจะให้ดอกที่สวยงามเด่นชัดขึ้น

การดูแลรักษา

แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ การปักชำ การตอน
โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพธรรมชาติได้ดี

อ้างอิงที่มา : http://www.maipradabonline.com/maimongkol/chounchom.htm