2.5.57

ผักกุ่ม ต้นไม้วิเศษ


ผักกุ่ม


ชื่อวิทยาศาสตร์ : กุ่มบก CratevaReligiosaHam.
                                กุ่มน้ำ Crateva adansonii DC. ssp. trifoliata ( Roxb.)
ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE
ชื่อท้องถิ่น : เหาะเกาะ ผักกุ่ม ผักก่าม รอถะ ทะงัน
ท้องถิ่น : เหาะเกาะ ผักกุ่ม ผักก่าม รอถะ ทะงัน

ลักษณะ :
             กุ่มบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-20 เมตร มักขึ้นบริเวณป่าดอนลักษณะลำต้นก้ามปูแผ่พุ่มกว้าง เปลือกต้นสีขาวหม่น ๆ และหนาใบแตกออกเป็นใบย่อย 3 ใบ ปลายใบมน ๆ คล้ายใบทองหลาง ดอกออกเป็นช่อสีขาวนวลในดอกมีเกสรตัวผู้สีม่วงยื่นออกมาเป็นฝอยเล็กๆ กลีบในแบนป้าน 4 กลีบ เริ่มบานจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีขาวนวลและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ยามออกดอกต้นกุ่มจะออกเต็มต้นสวยงามและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมขนาดเท่ากับลูกหมากเมื่อแก่กลายเป็นสีแดงนกชอบกินลูกกุ่มหรือผักกุ่ม
               กุ่มนํ้า เป็นไม้ยืนต้นและผลัดใบ มักชอบขึ้นบริเวณริมตลิ่งของ แม่นํ้าลำคลองหรือลำธารในป่าธรรมชาติ ชอบขึ้นใกล้น้ำจึงถูกเรียกขานว่า กุ่มนํ้า กุ่มนํ้ามักมีลำต้นคดงอและแตกกิ่งตา ใบกว้าง 0.5-2.5 นิ้ว ยาว ประมาณ 2-9 นิ้ว ก้านใบยาว 1.5-5.5 นิ้ว ใบสีเขียวและแตกออกเป็น ใบย่อย 3 ใบเช่นเดียวกับกุ่มบกแต่ใบแคบกว่าปลายใบเรียวแหลม ใบกว้าง 3.3-10 ซม. ก้านใบยาวออกเป็นช่อตามยอดใบหรือซอกใบดอกเริ่มออกสีเขียว และ ค่อยๆ กลายเป็นสีขาวหรือขาวอมเหลือง ก่อนออกดอกจะผลัดใบและผลิดอกพร้อมกับผลิใบใหม่ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมรีหรือรูปไข่ กลีบยาว ประมาณ 5-8 ซม. สีเทาอมขาวผิวแข็งภายในมีเมล็ดกลมๆ เล็กๆ จำนวนมาก

สรรพคุณ :
                  ใบ มีรสขม แก้ไข้ตัวร้อน ขับเหงื่อ เจริญอาหาร หรือใช้ใบสดตำทารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
      เปลือก ต้มดื่มขับลมในลำไส้ ระงับพิษทางผิวหนัง ขับน้ำดี ขับนิ่ว ใช้เปลือกต้มกินแก้ลม แก้ปวดท้อง
                 ดอก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เจ็บคอ แก้ไข้



ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://xn--q3ckhk5a4fzd.thaidrawing.com

30.4.57

แมงลัก ที่คนรัก

แมงลัก


ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Ocimum basilicum  L.f. var. citratum Back.
ชื่อสามัญ :   Hairy Basil
วงศ์ :  Apiaceae ( Labiatae )
ชื่ออื่น :   ก้อมก้อขาว มังลัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตรง โคนต้นแข็ง สูงประมาณ 40-65 ซ.ม. แตกกิ่งก้าน ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ เดี่ยว สีใบสีนวล ใบมีขนอ่อน ๆ ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ช่ออาจเป็นช่อเดี่ยว หรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ ดอกบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน กลีบรองดอกจะคงทนและขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปาก ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านช่อเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 ดอก ดอกตรงกลางจะบานก่อน และช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อนเช่นกัน ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล ขนาดเล็ก คือเมล็ดแมงลัก รูปร่างรูปรีไข่ สีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  เมล็ด และใบ

สรรพคุณ :
  • เมล็ด  -  ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยการเพิ่มปริมาตรของกากอาหารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
  • ใบ -  ใช้ขับลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา  แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย เป็นยาถ่าย
สารเคมี
 : 
          เมือกจากเมล็ด พบ D-xylos, D-glucose, D-galactose, D-mannose, L-arabinose, L-rhamnose, uronic acid , oil, polysaccharide และ mucilage
          ส่วนใบ  พบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย borneol L-B-cadinene, 1-8-cineol, B-caryophyllene, eugenol


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_8.htm

18.3.57

หวาย หนามสุดแหลม

ต้นหวาย



หวายเป็นไม้ที่ ลำต้นและกาบใบมีหนาม รากเป็นระบบรากแขนง ดอกช่อประกอบด้วยกลุ่มแขนงช่อดอก ดอกไม่สมบูรณ์เพศ จะสร้างช่อดอกออกจากลำต้นส่วนที่มีกาบหุ้ม เปลือกผลมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ ผลค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว

การเพาะขยายพันธุ์ให้นำเมล็ดหวายที่แก่จัดมากะเทาะและล้างเมือกสีแดงออก แล้ว นำมาผึ่งลมให้แห้งประมาณ 1-2 วัน จากนั้นนำมาเพาะลงในภาชนะที่รองด้วยวัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี เช่น ขุยมะพร้าว แล้วใส่ดินตามลงไป โรยเมล็ดหวาย กลบดินทับหนาประมาณ ซม. รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยพลาสติกเพื่อไม่ให้น้ำระเหย เก็บไว้ในที่ร่มรำไร ดูแลอย่าให้ดินแห้ง เมื่อกล้าหวายสูงประมาณ 2-5 ซม. ย้ายชำลงในถุงที่เตรียมไว้ ขนาด 5x8 นิ้ว

เมื่อกล้าหวายมีความสูงประมาณ 30 ซม. หรือมีใบ 4-6 ใบ นำมาปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ขนาด 30x30x30 ซม. ระยะห่าง 2x2 เมตร โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักหลุมละประมาณ 1/2 ปี๊บ จากนั้นนำกล้าหวายที่เตรียมไว้ลงปลูก เมื่อหวายมีอายุได้ เดือน หลังย้ายปลูก ควรทำการเสริมดินที่โคนต้น เพื่อไม่ให้รากลอย

การเพาะกล้าหวาย นิยมเพาะลงในแปลงเพาะ ที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อน เพราะจัดทำได้สะดวก และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง แล้วจึงย้ายชำกล้าลงถุงพลาสติก แล้วเก็บรักษาไว้ในเรือนเพาะชำ ขนาดของแปลงเพาะ จะมีขนาดเท่าใด ขึ้นอยู่กับปริมาณของเมล็ดที่จะเพาะในครั้งหนึ่ง ๆ หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ความกว้างของแปลงเพาะประมาณ เมตร ความยาวไม่จำกัด แปลงเพาะควรหลีกเลี่ยงการได้รับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ โดยการคลุมหลังคาแปลงเพาะ ด้วยทางมะพร้าว หรือใบปาล์ม ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นวัสดุที่ใช้ในการเพาะเมล็ดหวาย จะประกอบด้วยส่วนผสมของหน้าดินประมาณ 75% และทรายประมาณ 25% วิธีการเพาะ ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดหวายแต่ละชนิด หวายที่มีเมล็ดขนาดเล็ก ใช้วิธีการหว่านกระจาย ส่วนหวายที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ จะฝังเมล็ดเป็นแถว หลังจากหว่านเมล็ดเรียบร้อยแล้ว จะใช้ขี้เลื่อยโดยทับบาง ๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้น หรือสภาพแวดล้อมให้สม่ำเสมอ  เมล็ดหวายโดยปกติจะเริ่มงอกหลังจากเพาะประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะงอกหมดภายใน 9-10 สัปดาห์


การปลูกอีกวิธีหนึ่งก็คือ การแยกกอ แยกหน่อ หรือต้นกล้าที่แตกออกจากกอหวายเดิมมาปลูก โดยคัดเลือกขนาดหน่อที่ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ใช้มีดคม ๆ ตัดออกจากกอ โดยให้มีส่วนของรากติดมาก ๆ แล้วย้ายชำลงในถุงพลาสติก การย้ายชำให้ตัดใบออกเพื่อลดการคายน้ำ จนกล้าตั้งตัวได้นำไปปลูก ซึ่งดูแลรักษาเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด
เมื่อนำลงปลูกในแปลงแล้วควรไถพรวนเพื่อปราบวัชพืช อย่างน้อยปีละ ครั้งใส่ปุ๋ยคอกปีละ 2-3 กิโลกรัมต่อปี หวายจะแตกกอได้เร็วขึ้น เนื่องจากหวายไม่ค่อยมีโรค หรือแมลงรบกวน จึงไม่ควรใช้สารเคมีใด ๆ ในแปลงหวาย  หลังจากตัดเก็บ ควรใส่ปุ๋ยคอกตรงโคนต้น กอละประมาณ 1-2 ลิตร จะทำให้หวายแตกหน่อใหม่ได้เร็วขึ้น ใบและกาบที่ลอกออกจากหน่อหวาย ควรนำไปเผาไฟเพื่อกำจัดหนาม และทำลายแหล่งศัตรูหวายที่อาจเกิดขึ้น
จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อหวายมีอายุ 10-14 เดือน หลังย้ายลงปลูกในแปลง โดยจะตัด 2-3 อาทิตย์ต่อครั้ง การตัดเก็บควรใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ขนาดใหญ่ โดยสวมถุงมือหนัง สวมหมวกและรองเท้าบู๊ต เพื่อป้องกันอันตรายจากหนามหวาย ต้นหวายที่จะตัดควรมียอดแทงขึ้นมาประมาณ 5-6 นิ้ว หากยอดแทงขึ้นสูงกว่านี้ จะได้ส่วนอ่อนที่ใช้รับประทานน้อยลง ตัดให้สูงกว่าพื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อป้องกันการตัดถูกตาข้างส่วนโคนของหวาย ซึ่งจะเจริญเป็นหน่อหวายต่อไป
เกษตรกรจะเริ่มตัดเก็บผลผลิตได้เมื่อหวายอายุได้ ปี โดยกอหวายที่สมบูรณ์อายุ ปี จะมีหน่อทั้งกอ 6-8 หน่อ ซึ่งจะเป็นหน่อที่สามารถตัดขายได้ 3-4 หน่อ และในปีต่อๆไป หวายจะให้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับราคารับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง พ่อค้าจะรับซื้อในราคาหน่อละ บาท เมื่อถึงผู้บริโภคแล้วราคาจะสูง ถึงหน่อละ 5-7 และหน่อหวายที่ตัดแล้ว สามารถรอการจำหน่ายได้นานถึง วัน.


สรรพคุณทางยาของหวาย

สรรพคุณด้านสมุนไพร : รสขมเย็น แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ
แกงหวายสรรพคุณ : ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี เป็นอาหารบำรุงธาตุไฟ
แสลง : ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ หากรับประทานบ่อย ๆ จะทำให้ท้องผูกมากขึ้น ผู้เป็นโรคเหน็บชา อัมพฤกษ์ หากรับประทานบ่อย ๆ จะทำให้การรักษาไม่ได้ผล เนื่องจากแกงหวายมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น
ตำหวาย” สรรพคุณ : สมานแผลในกระเพาะและลำไส้ ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยระบายท้อง เป็นอาหารบำรุงธาตุดิน
 การประกอบอาหาร ภาคอีสาน,ภาคเหนือ : แกงหวาย ผักพริกแกง ซุปหวาย ตำหวาย แกงแค เผา-ลวก จิ้มน้ำพริกฯลฯ

ผลิตภัณฑ์จากหวาย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://chiangmairattan.blogspot.com/2010/12/chiangmairattan.html

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ คือ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจาคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่า ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

ฮีตแต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไรประจำเดือน นักปราชญ์โบราณได้วางฮีต 12 ไว้ ดังนี้

* เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม
* เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน
* เดือนสาม - บุญข้าวจี่
* เดือนสี่ - บุญผะเหวด
* เดือนห้า - บุญสงกรานต์
* เดือนหก - บุญบั้งไฟ
* เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ (ชำระ)
* เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
* เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
* เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
* เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
* เดือนสิบสอง - บุญกฐิน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

ฮีตสิบสอง ตอน เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม

ฮีตสิบสอง ตอน เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม

     บุญเข้ากรรมเป็นฮีตหนึ่งในสิบสองฮีต โดยเป็นเดือนที่พระสงฆ์จะทำการเข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนและมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไปทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่าง ๆ บุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย(เดือนเจียง)จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือพิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ( อาบัติหนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรมการเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำและเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วยบางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม  (อยู่ไฟหลังคลอด ) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว




แหล่งที่มาของข้อมูล : 


12.3.57

สะระแหน่ ผักริมรั่วที่เป็นยา


สะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์    Mental cordifolia Opiz.
วงศ์     Labiatae 
       ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น    สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้) หอมด่วน หอมเตือน (ภาคเหนือ) 
       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
       สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกที่เลื้อยปกคลุมดิน มีลำต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีเห็นเส้นใยชัดเจน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสั้น ทั้งใบและลำต้นมีกลิ่นหอม 


   สรรพคุณ
       สะระแหน่ มีฤทธิ์เย็นรสเผ็ด น้ำมันสะระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอ 
       1. รักษาอาการปวดศีรษะ  ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง 
       2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
       3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
       4. ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก 
       5. รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี 
       6. รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด 


แหล่งที่มาของข้อมูล :
 http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable31


มะลิ กลิ่นหอมที่เป็นยา


มะลิ



มะลิ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum; อังกฤษ: Jasmine; อินโดนีเซีย: Melatiเป็นพรรณไม้ยืนต้น พบได้ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง บางชนิดมีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ เมล็ด นอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
*  ดอก -แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่างๆ แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
*  ใบ ราก - ทำยาหยอดตา
* ใบ - แก้ไข้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ขับน้ำนม รักษาโรดผิวหนัง หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
* ราก - แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ นำรากมาฝนกินกับน้ำใช้แก้ร้อนใน คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้

แหล่งที่มาของข้อมูล : 
                                      http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4

9.1.56

พืชผักอาหารตามท้องทุ่ง : ผักแว่น

ผักแว่น





                      ผักแว่น
ชื่ออื่น :  ผักลิ้นปี่ หนูเต๊าะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Marsilea crenata Presl
วงศ์ :  MARSILEACEAE
ชื่อสามัญ :  Water Clover , Water fern
แหล่งที่พบ :  พบทั่วไปของทุกภาค
ประเภทไม้ : ไม้น้ำ


 ลักษณะต้นผักแว่น ผักแว่นที่พบในหนองน้ำ8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
** ต้น เป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟินเจริญเติบโตในน้ำตื้น ลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเลื้อย แตกกิ่งก้านอย่างไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมและใบเหนือน้ำ รากของผักแว่นสามารถเกาะติดเจริญอยู่บนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ลำต้นอ่อนสีเขียวลำต้นแก่จะเป็นสีน้ำตาล ** ใบ เป็นใบประกอบแบบพัด มีใบย่อย ใบ รูปร่างของใบย่อยคล้ายสามเหลี่ยมหรือรูปลิ่ม ออกจากตรงกลางของตำแหน่งเดียวกันเป็นลักษณะกลม ใบย่อยกว้าง 0.6-1.5 ซม. ยาว 0.8-1.8 ซม. โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย แผ่นใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาว 4.5-15 ซม. ใบย่อยไม่มีก้าน ใบมีสปอร์โรคาร์ป (sporocarps) ซึ่งเป็นก้อนแข็งๆ ออกเดี่ยวๆ หรือหลายอันสีดำ บนก้านชูสั้นๆ รูปขอบขนานหรือรูปสีคล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกที่โคนก้านใบขณะที่อ่อนอยู่สีขาว เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำร่วงง่าย

** ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีเหลือง ** ผล ลักษณะยาวรี ขั้วผลและปลายผลแหลมเปลือกผลสาก ผลขนาดยาวประมาณ ซม. ผลแบ่งเป็น พู ภายในประกอบด้วยเมล็ดจำนวนมาก  

ส่วนที่ใช้บริโภค : ยอดอ่อน เถาอ่อน (ทั้งเถาหรือเครือ)
การขยายพันธุ์  : เถา ไหล สปอร์
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม : พบทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะ และตามทุ่งนาฤดูฝน
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ :  ฤดูฝน เดือนสิงหาคม - กันยายน
คุณค่าทางอาหาร :  คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้
การปรุงอาหาร :  ทั้งเถา นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ ซุปหน่อไม้ ก้อย หรือนำไป ประกอบอาหาร เช่น แกงจืด แกงอ่อม 15. ลักษณะพิเศษ ผักแว่น มีรสจืดมัน ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
                              http://www.tonkla.tht.in/168o.htm


                            *****************************************

ไม้ดอกสมุนไพร : หงอนไก่

ต้นสร้อยไก่หรือหงอนไก่





หงอนไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Celosia cristata
ชื่อสามัญ Crested Celosia, Cockscomb
วงศ์ Amaranthaceae
ถิ่นเดิม :  เขตร้อนของอเมริกา และแอฟริกา
ความสูง :  6 – 36 นิ้ว

    
           เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก สูง 2-3 ฟุตใบเดี่ยวรูปหอกเรียวยาว ปลายแหลม ดอกเล็กๆ สีขาวอมชมพูอมแดง หรือสีขาว ออกอัดกันแนนเป็นช่อรูปแท่งตั้งอยู่ที่ปลายกิ่งก้าน ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป พบทั้งชนิดดอกสีขาว และสีแดง

สรรพคุณ
ใบ,กิ่งก้าน : รสฝาดเฝื่อน ต้มดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้บิด แก้ผดผื่นคัน ห้ามเลือด
ดอก รสฝาดเฝื่อน ต้มดื่ม แก้บิด ห้ามเลือด แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ริดสีดวงทวารชนิดที่มีเลือดออก แก้ตกขาว แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ปวดศรีษะ แก้ตาแดง
เมล็ด :  รสขมนุ่มเย็น ต้มดื่ม แก้ริดสีดวงทวาร แก้บิดมูกเลือด แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อักเสบ ตำทาแก้ผื่นคัน
ราก  รสขมเฝื่อน ต้มดื่ม แก้ไข้ แก้ท้องอืด บำรุงธาตุ แก้หืด ขับเสมหะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  http://www.thaikasetsart.com




                  ****************************************************



9.12.55

ท่องเที่ยวภูเรือ

อุทยานแห่งชาติภูเรือ




          พื้นที่ครอบคลุมอำเภอภูเรือ และอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2522 มีพื้นที่ประมาณ 120.84 ตร.กม. หรือ 75,525 ไร่ มียอดภูเรือเป็นจุดที่สูงที่สุด คือ 1365 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณยอดภูเรือจะพบป่าสนเขาสลับกับสวนหินธรรมชาติที่งดงาม นอกจกนี้ยังพบพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ ได้แก่ กุหลาบแดง กุหลาบขาว ดาวเรืองภูเฟิร์น กล้วยไม้ป่า เป็นต้น ซึ่งจะสลับกันออกดอกให้ชมกันตลอดทั้งปี และยังมีจุดชมทัศนียภาพได้โดยรอบ จุดชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่ผาโหล่นน้อย น้ำตกห้วยไผ่ สวนหินธรรมชาติ ซึ่งทางอุทยานได้จัดทำเส้นทางเดินเท้าเพื่อชมได้อย่างสะดวก ภายในอุทยานฯ มีบ้านพักและเต็นท์ ไว้บริการนักท่องเที่ยวสำรองบ้านพักได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร.0-2562-0760 , สอบถามรายละเอียดที่อุทยานแห่ง ชาติภูเรือ โทร.0-4280-171



         ภาพทิวทัศน์กว้างไกลสุดสายตา ทะเลหมอกลอยในหุบเขาสลับซับซ้อน คือเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวขึ้นมาเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูเรือ แม้ภูเรือจะมีความสูงไม่ติด 10 อันดับภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย แต่ถ้าเป็นเรื่องความหนาวเย็นละก็ ภูเรือจะมาเป็นอันดับแรก ๆ เลยที่ดียว ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงฤดูหนาว ภูเรือจึงคึกคักนักท่องเที่ยวที่พากันมา "อาบ" ความหนาวเย็นที่นี่ภูเรือ

        อุทยานแห่งชาติภูเรือ ดินแดนที่มีความหนาวเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว อุทยานฯภูเรือตั้งอยู่ใน อ.ภูเรือ เป็นภูเขาที่มีรูปร่างคล้ายเรือสำเภาลำใหญ่ อากาศบนภูเรือจะหนาวเย็นตลอดปี ช่วงที่หมอกลงนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมทะเลหมอกได้ตามจุดชมวิวริมหน้าผา ซึ่งมีอยู่หลายจุด ในฤดูหนาวบางช่วงที่อากาศหนาวจัด ภูเรือได้เกิดปรากฏการณ์ "แม่คะนิ้ง" ซึ่งเกิดจากการที่น้ำค้างบนยอดหญ้าจับตัวกันจนเป็นน้ำแข็ง





          ยอดภูเรือ เป็นภูเขาสูงใหญ่ บนยอดเขาเป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีต้นสนขึ้นสลับซับซ้อน ยอดภูเรือเป็นจุดที่สูงที่สุด โดยสูง 1,365 ม. จากระดับน้ำทะเล ยอดภูเรือจากด่านตรวจที่ เดินสู่ยอดภูเรือไปตามถนนลาดยางประมาณ 700 ม. หรือจะเดินตามทางดินที่ทางอุทยานจัดไว้ให้ศึกษาธรรมชาติก็สะดวกเพราะจะได้บรรยากาศเดินป่าท่ามกลางธรรม ชาติอันสวยงามได้มากยิ่งขึ้น โดยจุดเริ่มต้นอยู่ทางด้านขวามือของถนน ตรงข้ามด่านตรวจ แล้วลัดเลาะไปตามขอบหน้าผา ผ่านป่าที่มีไม้ยืนต้นหนาแน่นทำให้อากาศเย็นชื้นและมืดครึ้ม มีไอหมอกฟุงกระจายอยู่ทั่วราวป่า พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าสนเขา ทั้งสนสองใบและสนสามใบ สลับกับลานหินธรรมชาติ บนยอดภูยังสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามได้รอบด้าน จะสามารถมองเห็นแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับลาวได้ ยอดภูเรือยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาวาบรรพต ซึ่งมีประวัติว่าชาวภูเรืออัญเชิญมาจากวัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2520 จากยอดภูเรือมีเส้นทางเดินผ่านทุ่งหญ้าที่มีไม้ต้นเล็กๆ ขึ้นอยู่ปะปน แต่ที่น่าสนใจเป็นดอกไม้เล็กๆ ที่ขึ้นประดับพื้นให้เดินชมอย่างเพลิดเพลิน เช่น กระดุมเงิน เปราะภู ดาวเรือง เป็นต้น ช่วงฤดูฝนบริเวณป่าสนที่เรียกว่าทุ่งกวางตาย จะมีดอกกระเจียวบานไปทั้งทุ่ง นอกจากนี้ยังมีลานหินพานขันหมาก ลักษณะเป็นลานหินที่แตกเป็นรอยตื้น ๆ เต็มไปด้วยดอกไม้ต่าง ๆเช่น เอื้องม้าวิ่ง เอื้องนวลจันทร์ เส้นทางเดินนี้จะวกลงมาสู่ที่กางเต็นท์และสามารถเดินลงมาถึงที่ทำการได้


นอกจากนี้ยังมีเทศกาลต้นคริสมาสอีกด้วย 


จังหวัดเลยและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเลย ขอเชิญท่านเข้าร่วมอีกหนึ่งกิจกรรมของ หนาวนี้ใจเดียว เที่ยวเมืองเลย...เทศกาลต้นคริสต์มาสภูเรือ ครั้งที่ ๑”  ระหว่างวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕-๓๑ มกราคม ๒๕๕๖    ลานคริสต์มาสภูเรือ (ทางขึ้นอุทยานแห่งชาติภูเรือ) อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย




  



 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://www.amphoe-phurua.com/uty_2011.php
                                     http://www.loei.go.th/loei_forum/index.php?PHPSESSID=5a4001ab8f801ac031e8cbd 9f73ce752&topic=5553.0
                                     http://travel.kapook.com/view674.html