9.1.56

พืชผักอาหารตามท้องทุ่ง : ผักแว่น

ผักแว่น





                      ผักแว่น
ชื่ออื่น :  ผักลิ้นปี่ หนูเต๊าะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Marsilea crenata Presl
วงศ์ :  MARSILEACEAE
ชื่อสามัญ :  Water Clover , Water fern
แหล่งที่พบ :  พบทั่วไปของทุกภาค
ประเภทไม้ : ไม้น้ำ


 ลักษณะต้นผักแว่น ผักแว่นที่พบในหนองน้ำ8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
** ต้น เป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟินเจริญเติบโตในน้ำตื้น ลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเลื้อย แตกกิ่งก้านอย่างไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมและใบเหนือน้ำ รากของผักแว่นสามารถเกาะติดเจริญอยู่บนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ลำต้นอ่อนสีเขียวลำต้นแก่จะเป็นสีน้ำตาล ** ใบ เป็นใบประกอบแบบพัด มีใบย่อย ใบ รูปร่างของใบย่อยคล้ายสามเหลี่ยมหรือรูปลิ่ม ออกจากตรงกลางของตำแหน่งเดียวกันเป็นลักษณะกลม ใบย่อยกว้าง 0.6-1.5 ซม. ยาว 0.8-1.8 ซม. โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย แผ่นใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาว 4.5-15 ซม. ใบย่อยไม่มีก้าน ใบมีสปอร์โรคาร์ป (sporocarps) ซึ่งเป็นก้อนแข็งๆ ออกเดี่ยวๆ หรือหลายอันสีดำ บนก้านชูสั้นๆ รูปขอบขนานหรือรูปสีคล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกที่โคนก้านใบขณะที่อ่อนอยู่สีขาว เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำร่วงง่าย

** ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีเหลือง ** ผล ลักษณะยาวรี ขั้วผลและปลายผลแหลมเปลือกผลสาก ผลขนาดยาวประมาณ ซม. ผลแบ่งเป็น พู ภายในประกอบด้วยเมล็ดจำนวนมาก  

ส่วนที่ใช้บริโภค : ยอดอ่อน เถาอ่อน (ทั้งเถาหรือเครือ)
การขยายพันธุ์  : เถา ไหล สปอร์
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม : พบทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะ และตามทุ่งนาฤดูฝน
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ :  ฤดูฝน เดือนสิงหาคม - กันยายน
คุณค่าทางอาหาร :  คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้
การปรุงอาหาร :  ทั้งเถา นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ ซุปหน่อไม้ ก้อย หรือนำไป ประกอบอาหาร เช่น แกงจืด แกงอ่อม 15. ลักษณะพิเศษ ผักแว่น มีรสจืดมัน ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
                              http://www.tonkla.tht.in/168o.htm


                            *****************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น