แมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back.
ชื่อสามัญ : Hairy Basil
วงศ์ : Apiaceae ( Labiatae )
ชื่ออื่น : ก้อมก้อขาว มังลัก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตรง โคนต้นแข็ง สูงประมาณ 40-65 ซ.ม. แตกกิ่งก้าน
ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ เดี่ยว สีใบสีนวล ใบมีขนอ่อน ๆ ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ดอก
ช่อ ออกที่ปลายยอด ช่ออาจเป็นช่อเดี่ยว หรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ
ดอกบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน กลีบรองดอกจะคงทนและขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล
กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปาก ร่วงง่าย
เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านช่อเป็นชั้น ๆ
แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนละ 3 ดอก ดอกตรงกลางจะบานก่อน
และช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อนเช่นกัน ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล ขนาดเล็ก คือเมล็ดแมงลัก
รูปร่างรูปรีไข่ สีดำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ด และใบ
สรรพคุณ :
- เมล็ด - ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย
โดยการเพิ่มปริมาตรของกากอาหารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
- ใบ -
ใช้ขับลม
รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย เป็นยาถ่าย
สารเคมี :
เมือกจากเมล็ด พบ D-xylos, D-glucose, D-galactose, D-mannose, L-arabinose, L-rhamnose, uronic acid , oil, polysaccharide และ mucilage
ส่วนใบ พบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย borneol L-B-cadinene, 1-8-cineol, B-caryophyllene, eugenol
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_8.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น