18.3.57

หวาย หนามสุดแหลม

ต้นหวาย



หวายเป็นไม้ที่ ลำต้นและกาบใบมีหนาม รากเป็นระบบรากแขนง ดอกช่อประกอบด้วยกลุ่มแขนงช่อดอก ดอกไม่สมบูรณ์เพศ จะสร้างช่อดอกออกจากลำต้นส่วนที่มีกาบหุ้ม เปลือกผลมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ ผลค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว

การเพาะขยายพันธุ์ให้นำเมล็ดหวายที่แก่จัดมากะเทาะและล้างเมือกสีแดงออก แล้ว นำมาผึ่งลมให้แห้งประมาณ 1-2 วัน จากนั้นนำมาเพาะลงในภาชนะที่รองด้วยวัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี เช่น ขุยมะพร้าว แล้วใส่ดินตามลงไป โรยเมล็ดหวาย กลบดินทับหนาประมาณ ซม. รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยพลาสติกเพื่อไม่ให้น้ำระเหย เก็บไว้ในที่ร่มรำไร ดูแลอย่าให้ดินแห้ง เมื่อกล้าหวายสูงประมาณ 2-5 ซม. ย้ายชำลงในถุงที่เตรียมไว้ ขนาด 5x8 นิ้ว

เมื่อกล้าหวายมีความสูงประมาณ 30 ซม. หรือมีใบ 4-6 ใบ นำมาปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ขนาด 30x30x30 ซม. ระยะห่าง 2x2 เมตร โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักหลุมละประมาณ 1/2 ปี๊บ จากนั้นนำกล้าหวายที่เตรียมไว้ลงปลูก เมื่อหวายมีอายุได้ เดือน หลังย้ายปลูก ควรทำการเสริมดินที่โคนต้น เพื่อไม่ให้รากลอย

การเพาะกล้าหวาย นิยมเพาะลงในแปลงเพาะ ที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อน เพราะจัดทำได้สะดวก และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง แล้วจึงย้ายชำกล้าลงถุงพลาสติก แล้วเก็บรักษาไว้ในเรือนเพาะชำ ขนาดของแปลงเพาะ จะมีขนาดเท่าใด ขึ้นอยู่กับปริมาณของเมล็ดที่จะเพาะในครั้งหนึ่ง ๆ หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ความกว้างของแปลงเพาะประมาณ เมตร ความยาวไม่จำกัด แปลงเพาะควรหลีกเลี่ยงการได้รับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ โดยการคลุมหลังคาแปลงเพาะ ด้วยทางมะพร้าว หรือใบปาล์ม ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นวัสดุที่ใช้ในการเพาะเมล็ดหวาย จะประกอบด้วยส่วนผสมของหน้าดินประมาณ 75% และทรายประมาณ 25% วิธีการเพาะ ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดหวายแต่ละชนิด หวายที่มีเมล็ดขนาดเล็ก ใช้วิธีการหว่านกระจาย ส่วนหวายที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ จะฝังเมล็ดเป็นแถว หลังจากหว่านเมล็ดเรียบร้อยแล้ว จะใช้ขี้เลื่อยโดยทับบาง ๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้น หรือสภาพแวดล้อมให้สม่ำเสมอ  เมล็ดหวายโดยปกติจะเริ่มงอกหลังจากเพาะประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะงอกหมดภายใน 9-10 สัปดาห์


การปลูกอีกวิธีหนึ่งก็คือ การแยกกอ แยกหน่อ หรือต้นกล้าที่แตกออกจากกอหวายเดิมมาปลูก โดยคัดเลือกขนาดหน่อที่ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ใช้มีดคม ๆ ตัดออกจากกอ โดยให้มีส่วนของรากติดมาก ๆ แล้วย้ายชำลงในถุงพลาสติก การย้ายชำให้ตัดใบออกเพื่อลดการคายน้ำ จนกล้าตั้งตัวได้นำไปปลูก ซึ่งดูแลรักษาเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด
เมื่อนำลงปลูกในแปลงแล้วควรไถพรวนเพื่อปราบวัชพืช อย่างน้อยปีละ ครั้งใส่ปุ๋ยคอกปีละ 2-3 กิโลกรัมต่อปี หวายจะแตกกอได้เร็วขึ้น เนื่องจากหวายไม่ค่อยมีโรค หรือแมลงรบกวน จึงไม่ควรใช้สารเคมีใด ๆ ในแปลงหวาย  หลังจากตัดเก็บ ควรใส่ปุ๋ยคอกตรงโคนต้น กอละประมาณ 1-2 ลิตร จะทำให้หวายแตกหน่อใหม่ได้เร็วขึ้น ใบและกาบที่ลอกออกจากหน่อหวาย ควรนำไปเผาไฟเพื่อกำจัดหนาม และทำลายแหล่งศัตรูหวายที่อาจเกิดขึ้น
จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อหวายมีอายุ 10-14 เดือน หลังย้ายลงปลูกในแปลง โดยจะตัด 2-3 อาทิตย์ต่อครั้ง การตัดเก็บควรใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ขนาดใหญ่ โดยสวมถุงมือหนัง สวมหมวกและรองเท้าบู๊ต เพื่อป้องกันอันตรายจากหนามหวาย ต้นหวายที่จะตัดควรมียอดแทงขึ้นมาประมาณ 5-6 นิ้ว หากยอดแทงขึ้นสูงกว่านี้ จะได้ส่วนอ่อนที่ใช้รับประทานน้อยลง ตัดให้สูงกว่าพื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อป้องกันการตัดถูกตาข้างส่วนโคนของหวาย ซึ่งจะเจริญเป็นหน่อหวายต่อไป
เกษตรกรจะเริ่มตัดเก็บผลผลิตได้เมื่อหวายอายุได้ ปี โดยกอหวายที่สมบูรณ์อายุ ปี จะมีหน่อทั้งกอ 6-8 หน่อ ซึ่งจะเป็นหน่อที่สามารถตัดขายได้ 3-4 หน่อ และในปีต่อๆไป หวายจะให้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับราคารับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง พ่อค้าจะรับซื้อในราคาหน่อละ บาท เมื่อถึงผู้บริโภคแล้วราคาจะสูง ถึงหน่อละ 5-7 และหน่อหวายที่ตัดแล้ว สามารถรอการจำหน่ายได้นานถึง วัน.


สรรพคุณทางยาของหวาย

สรรพคุณด้านสมุนไพร : รสขมเย็น แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ
แกงหวายสรรพคุณ : ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี เป็นอาหารบำรุงธาตุไฟ
แสลง : ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ หากรับประทานบ่อย ๆ จะทำให้ท้องผูกมากขึ้น ผู้เป็นโรคเหน็บชา อัมพฤกษ์ หากรับประทานบ่อย ๆ จะทำให้การรักษาไม่ได้ผล เนื่องจากแกงหวายมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น
ตำหวาย” สรรพคุณ : สมานแผลในกระเพาะและลำไส้ ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยระบายท้อง เป็นอาหารบำรุงธาตุดิน
 การประกอบอาหาร ภาคอีสาน,ภาคเหนือ : แกงหวาย ผักพริกแกง ซุปหวาย ตำหวาย แกงแค เผา-ลวก จิ้มน้ำพริกฯลฯ

ผลิตภัณฑ์จากหวาย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://chiangmairattan.blogspot.com/2010/12/chiangmairattan.html

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ คือ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจาคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่า ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

ฮีตแต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไรประจำเดือน นักปราชญ์โบราณได้วางฮีต 12 ไว้ ดังนี้

* เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม
* เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน
* เดือนสาม - บุญข้าวจี่
* เดือนสี่ - บุญผะเหวด
* เดือนห้า - บุญสงกรานต์
* เดือนหก - บุญบั้งไฟ
* เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ (ชำระ)
* เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
* เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
* เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
* เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
* เดือนสิบสอง - บุญกฐิน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

ฮีตสิบสอง ตอน เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม

ฮีตสิบสอง ตอน เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม

     บุญเข้ากรรมเป็นฮีตหนึ่งในสิบสองฮีต โดยเป็นเดือนที่พระสงฆ์จะทำการเข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนและมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไปทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่าง ๆ บุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย(เดือนเจียง)จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือพิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ( อาบัติหนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรมการเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำและเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วยบางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม  (อยู่ไฟหลังคลอด ) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว




แหล่งที่มาของข้อมูล : 


12.3.57

สะระแหน่ ผักริมรั่วที่เป็นยา


สะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์    Mental cordifolia Opiz.
วงศ์     Labiatae 
       ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น    สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้) หอมด่วน หอมเตือน (ภาคเหนือ) 
       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
       สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกที่เลื้อยปกคลุมดิน มีลำต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีเห็นเส้นใยชัดเจน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสั้น ทั้งใบและลำต้นมีกลิ่นหอม 


   สรรพคุณ
       สะระแหน่ มีฤทธิ์เย็นรสเผ็ด น้ำมันสะระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอ 
       1. รักษาอาการปวดศีรษะ  ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง 
       2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
       3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
       4. ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก 
       5. รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี 
       6. รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด 


แหล่งที่มาของข้อมูล :
 http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable31


มะลิ กลิ่นหอมที่เป็นยา


มะลิ



มะลิ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum; อังกฤษ: Jasmine; อินโดนีเซีย: Melatiเป็นพรรณไม้ยืนต้น พบได้ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง บางชนิดมีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ เมล็ด นอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
*  ดอก -แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่างๆ แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
*  ใบ ราก - ทำยาหยอดตา
* ใบ - แก้ไข้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ขับน้ำนม รักษาโรดผิวหนัง หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
* ราก - แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ นำรากมาฝนกินกับน้ำใช้แก้ร้อนใน คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้

แหล่งที่มาของข้อมูล : 
                                      http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4